ติดต่อเราSiteMap

เปิดบทวิเคราะห์เลิกคืนภาษีส่งออกจีน กระทบไทยกลุ่มไหนบ้าง เตรียมรับมือสงครามต้นทุนพุ่ง

2024-11-26 HaiPress

“เอสเอ็มอี” จับตานโยบายยกเลิกคืนภาษีส่งงออกจีน กระเทือนกลุ่มไหนบ้าง ก่อสร้าง โซลาร์ แบตเตอรี่ พลังงานชีวภาพ ชิ้นส่วนรถยนต์ ที่แน่ๆ เตรียมรับมือสงครามต้นทุนราคาพุ่ง

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิชประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเปิดเผยถึงกรณีกระทรวงการคลังแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศนโยบายการคืนภาษี โดยยกเลิกและลดอัตราการคืนภาษีส่งออกสำคัญหลายรายการสินค้า กลุ่มลดอัตราการคืนภาษี เช่น โซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ ผลิตภัณฑ์แร่ที่ไม่ใช่โลหะบางชนิด ผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นบางชนิด กลุ่มยกเลิกการคืนภาษีส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและทองแดง ผลิตภัณฑ์น้ำมันหรือไขมันจากพืชและสัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการดัดแปลงทางเคมีและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 67ว่า ทางสมาพันธ์ฯ วิเคราะห์ข้อมูล ได้ข้อสรุปเบื้องต้นมีประเด็นผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อม 4 ประเด็น คือ

“จีนดันต้นทุนเพิ่ม เริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ” ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่เกี่ยวเนื่องในกลุ่มสินค้าดังกล่าวข้างต้นจะได้รับผลกระทบกับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น กลุ่มก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ พลังงงานชีวภาพ ชิ้นส่วนการประกอบยานยนต์ ขณะที่จีนมองการลดการสนับสนุนภาษีการส่งออกดังกล่าวจะทำให้ตลาดที่มีการพึ่งพาสินค้า และปัจจัยการผลิตที่สำคัญจากจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนและการส่งมอบ

ขณะที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในทั้งสงครามราคาต้นทุนที่สูงขึ้นและความมั่นคงของซัพพลายเชนที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งมอบ โดยสิ่งที่จีนได้รับประโยชน์ คือ การที่มีทั้งปริมาณเงินในการลดภาระการคืนภาษี ยกเลิกและลดส่งผลให้มีงบประมาณสนับสนุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น

2.“จีนขยับปรับกระบวนทัพโครงสร้างเศรษฐกิจสมดุล” เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศและรองรับปฐมบทมาตรการตอบโต้ทางการค้าจากสหรัฐอเมริกาและทำให้การผลิตส่วนเกินความต้องการในประเทศเพื่อขยายตลาดต่างประเทศมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น ชะลอการลดลงของราคาในกลุ่มโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันสินค้าจากจีนจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและสามารถเพิ่มรายได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นในการเตรียมรองรับสต๊อกสินค้าของผู้นำเข้า

3.“เดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ฉบับที่ 14 เศรษฐกิจสีเขียว ตัวเร่งธุรกิจคาร์บอนต่ำไปสู่การยกระดับผู้ประกอบการให้เปลี่ยนผ่านอย่างมีคุณภาพเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวให้จีนมีความได้เปรียบที่แข่งขันได้ในการลดภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยมุ่ง 4 ด้าน คือ ลดความเข้มข้นของอุตสาหกรรมคาร์บอนสูง ลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานเชื้อเพลิงสีเขียว และเพิ่มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันยังเตรียมพร้อมรองรับมาตรการ CBAM ที่จะเริ่มต้นในอีกประมาณ 1 ปีข้างหน้า ต้องถามตัวเองว่า วันนี้ไทยเรา เตรียมพร้อมผู้ประกอบการไปถึงไหนแล้ว?

4.“วางกลยุทธ์จัดทัพผู้ประกอบการไทยลดผลกระทบ-สร้างความได้เปรียบ” เจรจาการค้าไทย-จีนในการร่วมมือส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในกลุ่มที่พึ่งพาสินค้า ปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ และแบตเตอรี่ รวมทั้งอลูมิเนียมและทองแดงจากจีน เพื่อสนับสนุนให้ไทยให้ปรับเปลี่ยนรองรับการเปลี่ยนแปลงเติบโตไปสู่เศรษฐกิจใหม่ด้วยกัน

นอกจากนี้ประเด็นน่าสนใจจากจีนที่ผ่านมา คือ ต้นปี 66 กระทรวงการคลังและสำนักบริหารกิจการภาษีแห่งรัฐของจีนมีนโยบายการยกเว้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 หยวนต่อเดือน หรือประมาณ 500,000 บาท ตลอดปี 66 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาระธุรกิจรายเล็ก ขณะที่ปลายปี 66 ประเทศจีนรุก (ร่าง) ลดภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจขนาดเล็กของจีน แบ่งเบาภาระภาคเอกชนรายเล็ก กำหนดให้กิจการรายได้ต่ำกว่า 5 ล้านหยวนหรือ 24 ล้านบาทต่อปี เป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กและให้คณะรัฐมนตรีจีนสามารถปรับเปลี่ยนคำจำกัดความตามความจำเป็นของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การคำนวณภาษีที่เรียบง่าย โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจีนมีสัดส่วนถึง 30% ของรายได้จากภาษีของจีนทั้งหมด นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด

“เอสเอ็มอีเราไม่ได้ต้องการนโยบายเศรษฐกิจลอกเลียนแบบ เพราะบริบทต่างกันแต่ไทยเราต้องการเศรษฐกิจสมดุลแบบเข้าใจผู้ประกอบการที่มีความเหลื่อมล้ำมาช้านาน”

คำปฏิเสธ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 กรุงเทพพาณิชย์รายวัน    ติดต่อเรา SiteMap