ติดต่อเราSiteMap

สฟอ. ร่วมกำหนดทิศทางการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย

2024-11-21 HaiPress

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ จัดงาน Thailand Industrial Conference 2024 ภายใต้ธีม “FIND Industrial Vision 2025” เพื่อสร้างการรับรู้ถึงบทบาทและศักยภาพของสถาบันเครือข่ายภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิจัดงาน Thailand Industrial Conference 2024 ภายใต้ธีม FIND Industrial Vision 2025” เพื่อสร้างการรับรู้ถึงบทบาทและศักยภาพของสถาบันเครือข่ายภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ โดยได้รับเกียรติจาก นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ประธานกรรมการอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ณ ห้อง GH203 ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

หนึ่งในกิจกรรมสำคัญของงานนี้ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้หัวข้อ “การกำหนดทิศทางการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” เนื่องจากสถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Emission)​​ ทำให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ โดยหน่วยงานทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า “การระดมความคิดเห็นในหัวข้อ ‘การกำหนดทิศทางการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์’ เป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับนโยบาย ‘การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส’ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อกำหนดแผนงานที่ต้องมีการปรับปรุงหรือต้องเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ ได้ร่วมกันวิเคราะห์มาตรการรองรับการมีผู้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงรายใหญ่ของโลกมาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมถึงมีการประเมินผลกระทบจากข้อบังคับด้านการลดก๊าซเรือนกระจก


ในกระบวนการผลิตที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยได้กำหนดขึ้น”

“แนวทางสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประกอบด้วย การส่งเสริมให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงมากขึ้นโดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้พัฒนาระบบหรือโซลูชั่นอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การยกระดับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยให้ปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรีไซเคิลในประเทศ ขณะที่มาตรการรองรับที่สำคัญควรมีทั้งด้านการกำหนดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศ การผลักดันให้กำหนดสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในประเทศ การสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนการสร้างตลาดภาครัฐสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย ฯลฯ”

“ข้อมูลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ จะรวบรวมและสรุปให้เห็นเป้าหมายและทิศทางการปรับโครงสร้าง พร้อมด้วยมาตรการสนับสนุนเร่งด่วน (Quick Win) มาตรการสนับสนุนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการจัดทำนโยบายดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป”

คำปฏิเสธ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 กรุงเทพพาณิชย์รายวัน    ติดต่อเรา SiteMap