ติดต่อเราSiteMap

ไปไม่รอด! สถิติโรงงานเลิกกิจการ 5 อันดับแรก มีอุตสาหกรรมใดบ้าง

2024-08-14 HaiPress

เปิดสถิติโรงงานเลิกกิจการ 5 อันดับแรก มีอุตสาหกรรมใดบ้างในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567

จากสถิติตัวเลขกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลข 7 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีโรงงานเลิกประกอบกิจการ 667 แห่ง และมีโรงงานเปิดใหม่ แจ้งประกอบกิจการแล้ว 1,260 แห่ง คิดเป็นอัตราส่วนการเลิกประกอบกิจการ 54%

แม้จะมียอดการเปิดโรงงานใหม่มากกว่ายอดการปิดโรงงาน แต่ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้มีข้อกังวลหลายด้าน เพราะส่วนใหญ่ที่เปิดโรงงานใหม่ เป็นโรงงานขนาดใหญ่มาจากการดึงดูดของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)

ข้อมูลสถิติโรงงานเลิกกิจการ 7 เดือนแรกปี 2567


– เดือน มกราคม 2567 เลิกกิจการ 87 โรงงาน จำนวนแรงงาน 2,135 คน เงินลงทุน 3,869.60 ล้านบาท


– เดือน กุมภาพันธ์ 2567 เลิกกิจการ 94 โรงงาน จำนวนแรงงาน 1,959 คน เงินลงทุน 1,425.82 ล้านบาท


– เดือน มีนาคม 2567 เลิกกิจการ 131 โรงงาน จำนวนแรงงาน 3,809 คน เงินลงทุน 2,877.57 ล้านบาท


– เดือน เมษายน 2567 เลิกกิจการ 110 โรงงาน จำนวนแรงงาน 2,874 คน เงินลงทุน 3,793.21 ล้านบาท


– เดือน พฤษภาคม 2567 เลิกกิจการ 91 โรงงาน จำนวนแรงงาน 2,723 คน เงินลงทุน 3,486.49 ล้านบาท


– เดือน มิถุนายน 2567 เลิกกิจการ 69 โรงงาน จำนวนแรงงาน 1,108 คน เงินลงทุน 1,375.98 ล้านบาท


– เดือน กรกฎาคม 2567 เลิกกิจการ 85 โรงงาน จำนวนแรงงาน 5,098 คน เงินลงทุน 2,049.84 ล้านบาท

โรงงานเลิกกิจการ 5 อันดับแรก มีอุตสาหกรรมใดบ้างในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567


1. ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ จำนวน 18 โรงงาน แรงงาน 2,070 คน เงินลงทุน 2,507.44 ล้านบาท


2. ผลิตภัณฑ์โลหะ จำนวน 56 โรงงาน แรงงาน 1,625 คน เงินลงทุน 1,666.64 ล้านบาท


3. ผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 55 โรงงาน แรงงาน 1,209 คน เงินลงทุน 1,185.19 ล้านบาท


4. ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ จำนวน 40 โรงงาน แรงงาน 1,083 คน เงินลงทุน 1,110.74 ล้านบาท


5. สิ่งทอ จำนวน 12 โรงงาน แรงงาน 922 คน เงินลงทุน 999.50 ล้านบาท

ภาคเอกชน โดย ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ ยังเป็นข้อเสนอเดิมๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ คือ


1. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน อัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงได้จริง


2. ต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ เช่น ค่าไฟถูก ค่าโลจิสติกส์ถูก


3. หาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี มาถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อลดต้นทุน


4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการป้องกันการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ ส.อ.ท. ณ วันที่ 13 ส.ค. 67

คำปฏิเสธ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 กรุงเทพพาณิชย์รายวัน    ติดต่อเรา SiteMap