2023-09-21
วันที่20เดือนกันยายน(เวลา 14:00 ตามเวลาเมืองปักกิ่ง และเวลา 13:00ตามเวลาประเทศไทย) หน่วยประชาสัมพันธ์เมืองปินโจวร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม(ออนไลน์)กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยทำให้ผู้คนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสองประเทศมากขึ้น
ในการประชุมท่าน เฉิน ลุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานฝ่ายโฆษณาของมณฑลหยางซินและ หลู่ ชูปิน จากคณะกรรมการพรรคฝ่ายโฆษณาของมณฑลฮุ่ยหมินได้แนะนำมรดกที่จับต้องไม่ได้ที่เป็นเอกลักษณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองมณฑล หลังจากนั้นมณฑลหนางซินจัดแสดงงานฝีมือแบบดั้งเดิม เช่น งานแกะสลักที่ทำจากกระดูกวัว งานหัตถกรรมเหล่านี้รังสรรค์ด้วยความอุตสาหะและภูมิปัญญาของช่างฝีมือในท้องถิ่น ในเวลาเดียวกัน มณฑลฮุ่ยหมินวาดภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีท้องถิ่นด้วยประติมากรรมดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นต่อมาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคชลบุรีได้เปิดวิดีโอประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จและการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโรงเรียน หลังจากนั้น อาจารย์หลี่ ฮวา ได้แนะนำโรงเรียนอย่างละเอียด โดยเน้นย้ำผลงานที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาชีวศึกษาชลบุรีในด้านวัตกรรมเทคโนโลยีและการศึกษา นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังแสดงความคาดหวังสำหรับความร่วมมือในอนาคตระหว่างจีน-ไทยในด้านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ
ในระหว่างการแลกเปลี่ยนหน่วยประชาสัมพันธ์เมืองปินโจว แสดงความเต็มใจที่จะสร้างความร่วมมือในระยะยาวกับวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีในอนาคต พวกเขาเสนอว่า ทางประเทศจีนสามารถจัดครูมืออาชีพเพื่อสอนและแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม มนุษยนิยม มรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนให้กับนักเรียนในจังหวังชลบุรี ข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วม บ่งชี้ว่าการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
กิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม(ออนไลน์)นี้ไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในการลดระยะห่างระหว่างจีน-ไทยเท่านั้น แล้วยังช่วยเสริมสร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างคนทั้งสองฝ่ายอีกด้วย ด้วยการแบ่งปันมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของเมืองปินโจว ช่วยให้คนไทยเข้าใจและชื่นชมวัฒนธรรมจีนได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น สิ่งนี้จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการบูรณาการระหว่างอารยธรรมที่แตกต่างกัน