ติดต่อเราSiteMap


图片1.png


เมื่อเร็ว ๆ นี้ บทความแพร่กระจายอย่างกว้างขวางมาก บรรณาธิการพบข้อความต้นฉบับ และแชร์กับทุกคนที่นี่

 (แหล่งที่มา:Global Times-เว็บไซต์ Global Times/ Fan Lingzhi , Liu Xin)

       เมื่อไม่นานนี้ "Global Times" เพิ่งมีการเผยแพร่เกี่ยวกับ "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" แห่งสภาองค์กรสิทธิแรงงานสหรัฐอเมริกา (THE WORKER RIGHTS CONSORTIUM : WRC) ที่ประกาศว่าตน "ไม่ขึ้นตรงต่อใคร" ครั้งหนึ่งเคยสร้างข่าวลือ "การบังคับใช้แรงงานในซินเจียง"  เพื่อเรียกร้องให้บริษัทชุดกีฬาในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน(ในบทความนี้จะเรียกว่า บริษัทเจ้อเจียง) และหุ้นส่วน รวมถึงแบรนด์ชุดกีฬาชื่อดังในสหรัฐอเมริกาบริจาค"เงินการกุศลเพื่อสิทธิมนุษยชน" กว่า 300,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อ"ยุติเหตุการณ์ดังกล่าว" แต่ทว่าเงินเหล่านี้กลับถูกเก็บเข้ากระเป๋าของ"กลุ่มพลัดถิ่นอุยกูร์"โดยการดำเนินการของกลุ่มที่เราเรียกกันว่า "องค์กรสิทธิมนุษยชน"

   "Global Times" ได้รับข้อมูลโดยตรงจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2018 คุณ S ตัวแทนทางกฎหมายของบริษัท ซินเจียง โฮตัน(ต่อไปนี้เรียกว่า บริษัทโฮตัน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทเจ้อเจียง ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ Associated Press และ New York Times ถึงเรื่อง "การใช้แรงงานผิดกฎหมายในการผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ดังของอเมริกา" เนื่องจากหนึ่งวันก่อนหน้านี้ในรายงานข่าวภายในประเทศ ได้มีการเผยแพร่การบริจาคเพื่อบรรเทาความยากจนในท้องถิ่นของศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมซินเจียง และในเนื้อหาข่าวก็ได้พูดถึงการบริจาคของบริษัทดังกล่าวด้วย

      ในการให้สัมภาษณ์  คุณ S ได้ปฏิเสธทุกข้อที่สื่อสหรัฐฯกล่าวอ้าง  แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2018  Associated Press ยังคงมีการเผยแพร่ข่าวเท็จเกี่ยวกับ "การบังคับใช้แรงงาน 'กลุ่มค่ายปรับทัศนคติซินเจียง'เพื่อผลิตชุดกีฬาโดยบริษัทโฮตัน"  ซึ่งข่าวดังกล่าวยังมีการอ้างถึงนักการเมืองที่ต่อต้านจีนจำนวนมากและกลุ่ม"ชาวเตอร์กิสถานตะวันออก"ในต่างประเทศ เกี่ยวกับมุมมองที่ว่า "ซินเจียงกักขังชาวชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมกว่า 1 ล้านคน" ด้วย  นอกจากนี้ Nathan Ruser นักวิจัยด้านนโยบายไซเบอร์ของ สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์แห่งออสเตรเลีย (ASPI) ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของ Associated Press และพบว่า "บริษัทโฮตันได้เชื่อมรั้วระหว่างโรงงานตัดเย็บชุดกีฬาและค่ายปรับทัศนคติซินเจียงจริง" อีกทั้งข่าวดังกล่าวยังมุ่งเป้าไปที่แบรนด์ชุดกีฬาชื่อดังของเมริกา โดยในข้อมูลศุลกากรของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในเดือนเมษายนของปีนั้น แบรนด์ชุดกีฬาดังกล่าวเริ่มนำเข้าเสื้อยืดและกางเกงโพลีเอสเตอร์ 100% จากบริษัทโฮตัน โดยพบหลักฐานสำคัญคือ ที่อยู่ในบันทึกการขนส่งของศุลกากรตรงกับที่อยู่ของค่ายปรับทัศนคติซินเจียง

      ข่าวเท็จที่ Associated Press สร้างขึ้นถูกสื่อต่างประเทศมากกว่า 30 แห่งตีพิมพ์และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง สร้างความโกลาหลไปทั่วในชั่วพริบตา  ซึ่งนักข่าว Global Times ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงระหว่างที่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าว  "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งอ้างตนว่าเป็น "องค์กรตรวจสอบแรงงานอิสระ" ได้มีการเผยแพร่คำแถลงการของ Scott Nova กรรมการบริหารองค์กรบนเว็บไซต์ทางการด้วย  ซึ่งได้ข่มขู่ว่าจะไล่ล่าค้นหาความจริงเกี่ยวกับการบังคับแรงงานในค่ายปรับทัศนคติซินเจียงทางตะวันตกของประเทศจีนในการผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ดังของสหรัฐอเมริกาให้จงได้" รวมถึงจะคอยจับตาดูว่า "บริษัทโฮตันจะแก้ไขสถานการณ์ที่น่าหดหู่เช่นนี้ต่อไปอย่างไร"  แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แค่การประกาศหยุดสั่งซื้อสินค้ากับโรงงานแห่งนี้ก็ยังคงไม่เพียงพอ  ในความเป็นจริง บริษัทของอเมริกาและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของบุคคลที่สาม ก็เคยเข้าตรวจสอบและประเมินบริษัทโฮตันถึง 2 ครั้งในเดือนธันวาคม ปี 2017 และเดือนมกราคม ปี 2018 แต่ก็ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด


      "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ยังคงปั่นกระแสข่าวดังกล่าวท่ามกลางหลังฐานอันน้อยนิด อีกทั้งกดดันบริษัทที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และออกคำสั่งอย่างเย้อหยิ่งให้บริษัทเจ้อเจียงส่งมอบรายชื่อพนักงาน  ตำแหน่ง วันที่เข้าทำงาน เพศ กระทั่งข้อมูลเงินเดือนที่พนักงานแต่ละคนได้รับให้กับทางสมาคม  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2019 "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ยังได้เผยแพร่ "รายงานการประเมินโรงงานพันธมิตรเพื่อสิทธิแรงงาน" และแอบอ้างว่า "จากการพูดคุยกับแบรนด์ชุดกีฬาสหรัฐอเมริกาและนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนของจีน ประกอบกับบันทึกของศุลกากรสหรัฐฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง" ทำให้สามารถยืนยันได้ว่า "บริษัทจีนและอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีการ "บังคับใช้แรงงาน" ภายในโรงงานของตนที่ตั้งอยู่ในซินเจียงจริงๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ในรายงานผลการประเมินของสมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า "วิธีการประเมิน" ของสมาคมดังกล่าว เป็นเพียง "การตรวจสอบแผนที่ดาวเทียม" และ"การสืบค้นจากข้อมูลต้นฉบับและข้อมูลทุติยภูมิ"เท่านั้น  ซึ่ง"สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ก็ได้อ้างเหตุผลว่า "เนื่องจากมาตรการการปราบปรามของซินเจียงในประเทศจีน" ทำให้สมาคม "ไม่สามารถเข้าไปสัมภาษณ์แรงงานในค่ายได้" ซึ่งการอ้างเหตุผลเช่นนี้อาจเป็นเพราะสมาคมดังกล่าวพบว่าวิธีการที่ใช้มีช่องโหว่ขนาดใหญ่ ไร้ความเป็นมืออาชีพและขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงได้อ้างว่า "ไม่สามารถสัมภาษณ์กลุ่มแรงงานเหล่านี้ได้ และอาจทำให้พวกเขาตกอยู่ในอันตราย"

      เมื่อบริษัทที่ปรึกษาเข้าตรวจสอบและพบว่าเรื่อง “การบังคับใช้แรงงาน” ไม่เป็นความจริง แต่สหรัฐอเมริกากลับเพิกเฉยต่อความจริง  ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่า “ ต่อให้เอาความจริงมาวางตรงหน้า พวกเขาก็ยังคงแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเหมือนเดิม”

      ไม่สามารถตรวจสอบสถานที่จริงได้อย่างที่ “สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน” กล่าวอ้างจริงหรือ?  นักข่าว “Global Times” ได้รับข้อมูลว่า หุ้นส่วนของบริษัทเจ้อเจียง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจาก "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" และจากกรมศุลกากรและการป้องกันชายแดนของรัฐบาลสหรัฐฯ  แบรนด์ชุดกีฬาของเมริกาจึงได้มอบอำนาจให้กับRopes&Gray ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาให้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว แต่สำนักกฎหมายกลับติดต่อไปยังAlvarez&Marsal ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังของอเมริกาแทน และมอบการตรวจสอบธุรกิจให้กับ "บริษัท Alvarez & Marsal (shanghai) Holdings, LLC."(ต่อไปนี้จะเรียกว่าบริษัท Alvarez & Marsal )

      ในเดือนธันวาคม 2018 ในขณะที่บริษัท Alvarez & Marsal ยังไม่รับการอนุญาตตรวจสอบธุรกิจระหว่างประเทศ  แต่กลับส่งเจ้าหน้าที่ไปยังซินเจียงและเจ้อเจียงเพื่อตรวจสอบ"บังคับใช้แรงงาน"ในโรงงานของบริษัทโฮตันที่ตั้งอยู่ในศูนย์การศึกษาและฝึกอบรม  และส่งผลการตรวจสอบดังกล่าวไปยังสำนักงานในต่างประเทศ  ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 7 เมษายน 2021 หน่วยงานสถิติเซี่ยงไฮ้และหน่วยงานการกำกับดูแลด้านการตลาด รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้บังคับใช้กฎหมายทางการปกครองเพื่อจัดการกับพฤติกรรมการตรวจสอบที่ผิดกฎหมายของบริษัท Alvarez & Marsal และสอบสวนเจ้าหน้าที่ของบริษัทตามกฎหมาย  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติก็ได้กล่าวกับนักข่าว "Global Times" ว่า เนื่องจากเป็นคดีที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ หลังจากได้รับรายงานจากมวลชน หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติจึงจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงตามกฎหมาย เพื่อดำเนินการสอบสวนและรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

      นอกจากนี้ "Global Times" ยังได้รับข้อมูลอีกว่า เจ้าหน้าที่ Alvarez & Marsal ที่เข้าร่วมการตรวจสอบโรงงาน ได้ให้การกับหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติว่า "ได้ดำเนินการตรวจสอบจริง แต่ผลไม่เป็นไปตามที่สหรัฐอเมริกากล่าวอ้าง  และไม่พบ "การละเมิดสิทธิมนุษยชน"หรือ"การบังคับใช้แรงงาน" และความผิดปกติอื่นๆ แต่อย่างใด  ซึ่งพนักงานทุกคนของบริษัทโฮตันมีอิสระในการทำงาน และรับค่าจ้างตามมาตรฐานค่าจ้างในท้องถิ่น"  เจ้าหน้าที่บางคนกล่าวอีกว่า "อเมริกาไม่ยอมรับผลการตรวจสอบและหลักฐานอื่น ๆ ที่พบในครั้งนี้ และยังคงต้องการปรักปรำบริษัทจีนและแสดงความไม่พอใจต่อไป"  พวกเขาเชื่อว่า “อเมริกาเป็นผู้สร้างข่าวลือนั้นขึ้นมาโดยไม่สนใจข้อเท็จจริง และการรายงานข่าวของอเมริกาก็อุกอาจอย่างเห็นได้ชัด”  "สมาคมอเมริกาทำการตรวจสอบเรื่องนี้ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่ผลลัพธ์เช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าผลการรายงานที่พวกเราเก็บข้อมูลมาได้ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของพวกเขา ซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการคือผลเชิงลบ ดังนั้นในเมื่อผลที่ได้ไม่สามารถทำให้พวกเขาพึงพอใจ มันจึงกลายเป็นเพียงข้อมูลที่ไร้ประโยชน์สำหรับพวกเขา  ต่อให้เรานำความจริงมาวางตรงหน้า  พวกเขาก็จะแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น"

      ซึ่งอันที่จริงไม่ได้มีเพียงบริษัท Alvarez & Marsal เท่านั้นที่ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงของประเด็นดังกล่าว  ในเดือนธันวาคม 2018 หลังจากที่สื่อต่างประเทศมีการเผยแพร่ข่าวนี้ออกไป "องค์กรการผลิตเครื่องแต่งกายที่มีความรับผิดชอบทั่วโลก(Worldwide Responsible Accredited Production หรือ WRAP ) ก็ได้ออกมาพิสูจน์แล้วว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเท็จ และบริษัทโฮตันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ต่อมาในเดือนมีนาคม 2019 โครงการริเริ่มที่ขับเคลื่อนโดยธุรกิจชั้นนำ (Business Social Compliance Initiative หรือ BSCI) ก็ได้ตรวจสอบและยืนยันแล้วว่าบริษัทโฮตัน ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน  "การใช้แรงงานเด็ก" หรือ "การบังคับใช้แรงงาน" แต่อย่างใด  และในเดือนเมษายน 2019  WRAP ก็ได้ทำการตรวจสอบโรงงานดังกล่าวเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งผลที่ได้ก็ยืนยันได้ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแน่นอน

      เช่นเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ Alvarez & Marsal ให้การว่า "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" เมินเฉยต่อผลการสรุปข้างต้น  นักข่าว "Global Times" ยังรายงานอีกว่า ตลอดปี 2019 "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ยังคงมีการติดตามบริษัทในเครือของ S และออก "รายงานการประเมิน" ให้กับบริษัทโฮตัน โดยระบุรายละเอียดว่า บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การบังคับใช้แรงงาน" และ "การละเมิดสิทธิมนุษยชน"  อีกทั้งกล่าวหาว่า  "รัฐบาลท้องถิ่นของซินเจียงก็มีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย"  ขณะเดียวกัน  "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ยังคงกดดันแบรนด์ชุดกีฬาของอเมริกาให้ยุติโครงการความร่วมมือกับบริษัทเครื่องแต่งกายทั้งหมดในเครือของ S พร้อมกับข่มขู่ว่าจะร่วมมือกับ Associated Press, New York Times และสื่ออื่น ๆ สร้างกระแสข่าวโจมตีต่อไปหากไม่ยุติความร่วมมือ  ในด้านของบริษัทอเมริกา  บริษัทเจ้อเจียง และบริษัทโฮตัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ก็ได้เจรจากับ WRC เพื่อขอใช้ผลการตรวจสอบจากหน่วยงานของบุคคลที่สามหลายแห่งที่มีอำนาจในการตรวจสอบระหว่างประเทศเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตน  และหวังว่า WRC จะตัดสินประเด็นเกี่ยวกับ "การละเมิดสิทธิมนุษยชน" ของบริษัทโฮตันอย่างเป็นธรรม  แต่ทว่า WRC กลับปฏิเสธการเจรจา และแจ้งว่าบริษัทดังกล่าวถูกขึ้นบัญชีดำในโทษฐานบังคับใช้แรงงาน และยังแจ้งไปยัง Human Rights Watch , Fair Labour Association และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ (NGOs) ให้ทราบ และบังคับให้บริษัทอเมริกันทั้งหมดที่มีการติดต่อทางธุรกิจกับบริษัทโฮตันยุติความร่วมมือทางธุรกิจโดยเร็ว 

      การทิ้งไพ่ตายของ "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" : ขู่กรรโชกเงินการกุศลเพื่อสิทธิมนุษยชน 300,000 เหรียญสหรัฐ จากบริษัทที่เกี่ยวข้อง

      หลังจากมีการสร้างกระแสข่าวและการกดดันต่างๆนาๆ  ในที่สุด"สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ก็ได้ตัดสินใจ "ทิ้งไพ่ตาย" กับบริษัทเจ้อเจียงและแบรนด์ชุดกีฬาของอเมริกา   "Global Times" รายงานว่า "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ได้สั่งให้บริษัทอเมริกาและบริษัทเจ้อเจียงที่เกี่ยวข้องร่วม "บริจาคเงิน" จำนวน 600,000 เหรียญสหรัฐ ภายใต้ชื่อ "เพื่ออนาคตที่สดใสของสิทธิมนุษยชนโลก" เพื่อเป็นการรักษาธุรกิจและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น บริษัทเจ้อเจียงและบริษัทอเมริกาจึงจำใจประนีประนอมยอมความ และบริจาค"เงินการกุศลเพื่อสิทธิมนุษยชน" จำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อยุติเหตุการณ์ดังกล่าว โดยบริษัทเจ้อเจียงและบริษัทอเมริการ่วมกันออกคนละ 150,000 เหรียญสหรัฐ

   "Global Times" ยังได้รายงานเกี่ยวกับรายการบัญชี "เงินการกุศลเพื่อสิทธิมนุษยชน" โดยเปิดเผยว่า บริษัทเจ้อเจียงและบริษัทอเมริกาได้ตกลงร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 300,000 เหรียญสหรัฐ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 บริษัทอเมริกาจะแบ่งชำระทั้งหมด 3 งวด งวดละ 100,000 เหรียญสหรัฐ ให้กับองค์กร "Human Rights Watch"  และในแต่ละเดือน บริษัทอเมริกาจะหักเงินจากการขนส่งสินค้าของบริษัทเจ้อเจียงจำนวน 6,250 เหรียญสหรัฐ รวมทั้งหมด 24 เดือน คิดเป็นเงิน 150,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว

      จากการรายงานข่าวในสื่อช่องอื่น ยังพบว่า "สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ก็ได้ใช้วิธีเดียวกันเพื่อบังคับให้บริษัทเสื้อผ้าในบังคลาเทศบริจาค "เงินการกุศลเพื่อสิทธิมนุษยชน" ด้วยเช่นกัน

      ในการเผยแพร่ข่าวสารบนเว็บไซต์ทางการของ WRC ยังกล่าวว่า " ถึงแม้บริษัทอเมริกาดังกล่าวไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การบังคับใช้แรงงาน" แต่บริษัทได้ตกลงที่จะใช้ "มาตรการเยียวยา" ตามที่ WRC กำหนด  ซึ่งรวมถึง "การบริจาค 300,000 เหรียญสหรัฐให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือเหยื่อการทารุณกรรมของรัฐบาลจีนในซินเจียง(องค์กรเหล่านี้จัดตั้งขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชของจีน)  นอกจากนี้รายงานการประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2019 ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ WRC ยังชี้ให้เห็นว่า Penelope Kyritsis ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเชิงกลยุทธ์ขององค์กร และScott Nova ผู้อำนวยการบริหาร ได้มอบหมายให้องค์กร "Human Rights Watch" รับผิดชอบในการตรวจสอบว่า"กลุ่มพลัดถิ่นอุยกูร์" ได้รับเงินบริจาคจำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

      ปลายทางของเงินเหล่านี้อยู่ที่ไหน?  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมMax Blumenthal ผู้ก่อตั้ง "Gray Zone" เว็บไซต์สืบสวนอิสระของอเมริกา ครั้งหนึ่งเคยเผยแพร่บทความบนเว็บไซต์ Tendez Blick เกี่ยวกับประเด็น "กลุ่มล็อบบี้ต่อต้านจีนของสหรัฐ ใช้ขบวนการ "บังคับใช้แรงงาน" เพื่อให้คนงานอุยกูร์ตกงาน"  ซึ่งในบทความได้กล่าวถึง การไหลของเงินทุน Penelope Kirisis ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเชิงกลยุทธ์ของ WRC กล่าวอย่างคลุมเครือว่า "มีกลุ่มหนึ่งในคาซัคสถาน ซึ่งฉันเองก็จำชื่อไม่ได้"

      " ในซินเจียงไม่มี "การบังคับใช้แรงงาน” ดังที่อเมริกากล่าวหา และตามกฎหมายแล้วองค์กรพัฒนาเอกชนอย่าง WRC ก็ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลบริษัทต่างๆ  แต่พวกเขายังคอยรังควานบริษัทต่าง ๆ ด้วยการสร้างข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง และบังคับให้บริษัทเหล่านี้ "ยินยอมบริจาคเงิน" หรือที่เราเรียกกันว่าขู่กรรโชกนั่นเอง"  Li Wei นักวิจัยจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่แห่งประเทศจีน และผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Global Times ว่า "หาก WRC อ้างว่า "ไม่สามารถเข้าซินเจียงได้"  จึงโอนเงินบริจาคทั้งหมดให้กับองค์กรใน "เตอร์กิสถานตะวันออก" เช่น "กลุ่มชาตินิยมอุยกูร์" ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนจีน และ NGO กลุ่มต่อต้านจีนที่ประกาศตัวเป็นศัตรูกับจีนอย่างชัดเจน จะถือว่าเป็นการสนับสนุนการก่อการร้าย”

    Li Wei ยังบอกกับนักข่าวของ Global Times อีกว่า "สาเหตุที่บอกว่านี่คือการก่อการร้าย เพราะว่าประเทศจีนได้ประกาศให้ "สมัชชาเยาวชนโลก" และ "สภาอุยกูร์โลก" เป็นองค์กรก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อประเทศจีน โดยในขณะที่ Duo Likun ดำรงตำแหน่งผู้นำของ "สภาอุยกูร์โลก" เขาก็ยังเป็นสมาชิกอาวุโสของ "สมัชชาเยาวชนโลก" ด้วย  และการก่อการร้ายต่างๆในประเทศจีนล้วนมีความเกี่ยวข้องกับ"สภาอุยกูร์โลก"ทั้งสิ้น  หลักฐานที่เด่นชัดที่สุดคือ เหตุการณ์ '7·5' ซึ่ง "สภาอุยกูร์โลก" เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังของเหตุการณ์นี้  เรามีหลักฐานคือ บันทึกการโทรระหว่างผู้นำ "สภาอุยกูร์โลก" กับแกนนำม็อบในประเทศ”

    Li Wei กล่าวว่า "สถานการณ์ต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาสำคัญคือ "ยิ่งต่อต้าน การก่อการร้ายก็ยิ่งมากขึ้น"  ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายในบางประเทศด้วย  แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ NGO จำนวนมากกำลังเล่นบทบาทเป็นผู้สวมหน้ากาก"การกุศล" และ "สิทธิมนุษยชน" แม้ว่าภายใต้การดูแลของรัฐบาล NGO จำเป็นต้องเปิดเผยบัญชีและการเงินต่างๆ ของตนต่อสาธารณะ  แต่เนื่องจาก NGO เหล่านี้ก็ตกเป็นเครื่องมือของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกในการโจมตีประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน  จึงทำให้ไม่สามารถทำตรวจสอบและควบคุม NGO ได้  แต่พวกเขากลับช่วยปกปิดความลับแทน"

   “ในอดีตก็เคยเกิดเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ NGO ใช้ความคิดเห็นของสาธารณชนขู่กรรโชกธุรกิจ  แต่ส่วนใหญ่จะทำกันอย่างลับๆ ไม่เหมือนกับ WRC ที่ขู่กรรโชกอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งมันน่าตกใจมาก”  Li Wei เชื่อว่าการขู่กรรโชกที่โจ่งแจ้งดังกล่าวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเบื้องหลังของเรื่องที่สหรัฐอเมริกาสร้างข่าวลือ “ประเด็นโรงงานที่ซินเจียงเพื่อกดดันประเทศจีน” ถ้าหากประเทศจีนไม่มีการตอบโต้อย่างเด็ดขาด  NGO อื่นๆ ก็จะกล้ามารังแกข่มเหงประเทศจีนอีก  การต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติจีน ถือเป็นการสนับสนุนและให้กำลังใจแก่ธุรกิจต่างๆ ในประเทศอย่างมาก”




คำปฏิเสธ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 กรุงเทพพาณิชย์รายวัน    ติดต่อเรา SiteMap